วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โปสเตอร์ Men Health




น.ส. อักษราภัค สวัสดี 51011903


น.ส. สุชาดา อ่อนทอง 51011902


นาย สิปปกร ไสวงาม 51011277

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แนวโน้มการนำเสนองานนิเทศศาสตร์

แนวโน้มสื่อโฆษณาทางโทรศัพท์มือถือโทรศัพท์มือถือกลายเป็นสื่อใหม่ ที่เม็ดเงินโฆษณาอยากจะไปจมด้วยมากที่สุด โดยเฉพาะสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น
และจุดเด่นสำคัญที่ “มือถือ” กลายเป็นสื่อใหม่ที่จะทรงอิทธิพลมากกว่าอินเตอร์เน็ต ก็คือ “มือถือสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้” กล่าวคือ เราใช้มือถือซื้อของได้ทันที และสิ่งที่เราทำกันบ่อยที่สุดในการใช้เงินผ่านมือถือ คือ การดาวน์โหลดเนื้อหาต่างๆ อาทิ ริงโทน วอลเปเปอร์ จากผู้ให้บริการมากมาย ทันทีที่โหลด เงินของคุณก็จะโดนหักผ่านมือถือทันที

หัวใจหลักของการวัดผลการโฆษณาผ่านมือถือ ประกอบด้วย 5 ประเด็น คือ
1. การเข้าถึง (Reach): ในกรณีไม่ได้หมายถึงเข้าถึงคนใช้มือถือ แต่หมายถึงสารที่เราส่ง ส่งไปในรูปแบบใดมากกว่า เช่น SMS, MMS, WAP PUSH (เพราะบางทีหากเราส่งข้อความในรูปแบบที่ไฮเทคเกินไป มือถือบางเครื่องอาจจะยังรับไม่ได้ หรือ ผู้ใช้เอง ไม่ทราบว่าจะดูเนื้อหาโฆษณาเหล่านั้นได้อย่างไร

2. การเข้าร่วม (Engagement): หลายครั้งที่คุณได้รับข้อความทาง SMS บอกว่า ร้านอาหารนี้ลดราคา 50% ช่วงเที่ยงเท่านั้น แต่ร้านนี้กลับอยู่คนละทิศกับที่ทำงานคุณ โฆษณาทาง SMS ข้อความนี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “สแปม” ไปโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การส่งข้อความโฆษณาให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคนเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก็เช่นกันที่ มือถือ กลายเป็นสื่อที่สามารถทำให้ความต้องการนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ เช่น ที่ป้ายรถเมล์ มีโฆษณาของร้านอาหารฟาสฟู้ดแห่งหนึ่ง ระหว่างมื้อเที่ยง คุณเดินผ่านหน้าร้านนนี้ มือถือของคุณก็มีข้อความส่งเข้ามาว่า “เที่ยงนี้มา 1 แถมอีก 1” ก็ยิ่งทำให้คุณตัดสินใจได้ไม่ยาก ว่าจะเปิดประตูเข้าร้านนั้นในทันทีหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสิ้นเดือนมาถึง การทำโฆษณาบนมือถือแบบที่กล่าวมานี้อาจจะใช้เทคนิคของ Location Based Service (LBS) (ส่งข้อความไปหามือถือ ที่มีรัศมีไม่เกิน …. กิโลเมตร หรือ Bluespamming (กระจายข้อความผ่านบลูทูธ) ก็ได้

3. จับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) ไม่ว่าคนไหนก็ใช้มือถือ แต่โฆษณารูปแบบไหนจะเหมาะกับกลุ่มคนอายุเท่าไหร่ ไลฟ์สไตล์แบบไหน ก็ต้องมาพิจารณากัน แต่สื่อเนื้อหา ให้ถูกกลุ่มผู้ฟังก็ย่อมต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
4 การบอกต่อๆ กัน (Viral) จะดีแค่ไหน ถ้าหนังโฆษณาที่ถูกตัดเป็นคลิป ที่เราส่งให้ลูกค้า 1,000 คน แต่มันกลับถูกส่งต่อๆไปยังเพื่อนของเพื่อนพวกเขาอีกเป็นแสนๆ คน แต่อย่างไรก็ดี เนื้อหาที่ส่งย่อมสำคัญ จนผู้ใช้ ยอมจ่ายเงิน ที่จะบอกต่อ เพราะฟังก์ชันสำคัญของมือถือ นอกจากดาวน์โหลด แล้ว ยังส่งต่อให้คนอื่น ทั้งแบบฟรี (ผ่านอินฟราเรด บลูทูธ NFC) แล้ว ก็ยังส่งเข้า อี-เมล์ ส่งผ่าน MMS ได้อีกด้วย

5. เกิดปฏิสัมพันธ์ (Transaction) อัตราการตอบสนองต่อโฆษณาหากเป็นสื่อมวลชนแบบดั้งเดิม อย่างวิทยุ หรือทีวี แทบจะเป็นศูนย์ เพราะนับได้ยาก แต่สำหรับสื่อมือถือแล้ว ทุกข้อมูลที่คุณส่งมา เราจะเก็บลงฐานข้อมูลได้หมด นับได้เป็นจำนวนครั้ง แยกย่อยได้ตามยี่ห้อมือถือ ระบบปฏิบัติการ ขนาดหน้าจอ ฯลฯ จึงไม่น่าแปลกใจที่ ถ้าครั้งหนึ่งคุณเคยเล่นเกม ส่ง SMS ไปทายผล หรือโหลดบริการอะไรก็แล้วแต่ อีกไม่กี่วัน คุณก็จะได้ข้อความโฆษณามาอีกบ่อยๆ

สรุป

การวัดผลโฆษณาบนมือถือ ก็ยังอิงกับการวัดผลสื่อดิจิตอลอื่นๆ อาทิ การวัด Reach, Frequency (เปิดชมกี่ครั้ง บ่อยแค่ไหน) การใช้ข้อความในรูปแบบสื่อผสม (Rich Media) ทั้งภาพ ข้อความ เสียง และจากนั้นก็ดูเวลาที่ใช้ในการชม รวมถึงเทคนิคอื่น ๆ อย่าง Click-through rates (CTR), cost per click (CPC), cost per lead

ส่วนสุดท้ายที่ขาดไม่ได้คือ การจดจำตราสินค้า ที่จะต้องใช้การวิจัยรูปแบบอื่นๆ เข้าช่วย เพื่อดูว่า มีการจำตราสินค้าได้หรือไม่ และที่ขาดไม่ได้ที่จะพูดถึงก็คือ สื่อมือถือ คือตัวการสำคัญที่จะช่วยยกระดับให้สื่อดั้งเดิมอื่นๆ สามารถมีการปฏิสัมพันธ์ (Interactivity) ได้ เช่น วิทยุ ทีวี รณรงค์ให้คนส่ง SMS แสดงความเห็น คนอ่านนิตยสารสามารถสแกนโค้ดที่ติดอยู่บนหน้าโฆษณาในนิตยสาร เพื่อโหลดส่วนลด เป็นต้น

รูปแบบการนำเสนอภาพไม่คาดคิด







วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สถานีโทรทัศน์ทีวีสีช่อง3

1. ชื่อเรื่อง
- สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง32. ข้อมูลเบื้องต้น
- สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เกิดขึ้นจาก บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (อังกฤษ: Bangkok Entertainment Company Limited; ชื่อย่อ: บีอีซี.; BEC ปัจจุบันอยู่ในเครือบีอีซี เวิลด์) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โดยนายวิชัย มาลีนนท์ และ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ลงนามร่วมกัน ในสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีอายุสัญญา 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513-25 มีนาคม พ.ศ. 2523

โดยตามสัญญา กำหนดให้มีที่ดินไม่น้อยกว่า 6 ไร่ เพื่อก่อตั้งสถานีส่งออกอากาศ พร้อมทั้งสิ่งก่อสร้าง และอุปกรณ์การส่งโทรทัศน์ทั้งหมด รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท โดยจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ทันที เมื่อเริ่มส่งออกอากาศ แต่เมื่อลงทุนจริง บริษัทฯ ใช้ทุนไปทั้งสิ้น 54.25 ล้านบาท สูงกว่าในสัญญา 29.25 ล้านบาท และระหว่างการร่วมดำเนินกิจการตามสัญญา ในระยะเวลา 10 ปีนั้น บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าตอบแทน แก่บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นเงิน 44 ล้านบาท และเงินสวัสดิการ แก่พนักงานบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด อีกปีละ 1 ล้านบาท รวมเป็น 10 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 54 ล้านบาท
อนึ่ง บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้ขยายอายุสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ซึ่งแปรรูปมาจาก บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2520 มาแล้วสองครั้ง คือเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2521 ขยายออกไปอีก 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2523-25 มีนาคม พ.ศ. 2533 และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ขยายออกไปอีก 30 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2533-25 มีนาคม พ.ศ. 2563
ต่อมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2513 ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มทดลองออกอากาศ โดยใช้กำลังส่งเต็มระบบคือ 50 กิโลวัตต์ ด้วยเครื่องส่งขนานเป็นครั้งแรก ระหว่างเวลา 19.00-21.00 น. จากนั้น ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2513 ทางสถานีฯ เริ่มทดลองแพร่ภาพออกอากาศแบบเสมือนจริง ระหว่างเวลา 09.30-24.00 น. และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ตามเวลาฤกษ์ คือ 10.00 น. โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดสถานีฯ
เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2512 มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการสถานีฯ บนที่ดินขนาด 6 ไร่เศษ บริเวณกิโลเมตรที่ 19 ถนนเพชรเกษม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยอาคารดังกล่าว มีความสูง 4 ชั้น ภายในเป็นห้องส่งขนาด 600 ตารางเมตร 2 ห้อง, ขนาด 500 ตารางเมตร 2 ห้อง และขนาด 110 ตารางเมตร อีก 1 ห้อง โดยแต่ละห้องส่งจะมีห้องควบคุมเฉพาะ ซึ่งมีการติดตั้งระบบไซโครามา สูง 7.5 เมตร กว้าง 47 เมตร ใช้ประดิษฐ์ภาพฉากท้องฟ้า ซึ่งก่อให้เกิดความชัดลึก และเปลี่ยนสีให้กับฉากได้เสมือนจริงอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อเริ่มแพร่ภาพออกอากาศแล้วทางสถานีฯ ต้องส่งมอบอาคาร และที่ดินดังกล่าว ตลอดจนเครื่องส่งโทรทัศน์ และอุปกรณ์การออกอากาศต่างๆ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยทันที

ต่อมาได้แยกส่วนของสำนักงาน มายังอาคารเลขที่ 2259 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และจัดสร้างห้องส่งโทรทัศน์ บนชั้น 8 ของอาคารโรบินสัน จากนั้น เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2529 จึงได้รวมส่วนงานที่กระจายอยู่ 3 แห่ง มารวมศูนย์อยู่ที่อาคารวานิช 1 และ 2 บริเวณแยกวิทยุ-เพชรบุรี (ถนนวิทยุตัดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำเนินงานให้คล่องตัวมากขึ้น และในราวปี พ.ศ. 2542 สถานีฯ ย้ายอาคารที่ทำการทั้งสามส่วนงาน ขึ้นไปยังอาคารเอ็มโพเรียม ถนนสุขุมวิท[2]

ในปัจจุบัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2547) จึงย้ายมายังอาคารที่ทำการปัจจุบัน โดยมี บมจ.บีอีซีเวิลด์ เป็นเจ้าของด้วยตนเองคือ อาคารมาลีนนท์ (เดิมเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)) เลขที่ 3199 ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 อาคาร โดยอาคาร เอ็ม 1 เป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทฯ และ อาคาร เอ็ม 2 เป็นส่วนปฏิบัติการออกอากาศ[1]
3. วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3
- เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3
- เพื่อสร้างการยอมรับให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3
- เพื่อสร้างความมั่นใจในมาตรฐานการบริหารงานของให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก
ด้านกายภาพ
- ชาย/หญิง/เด็ก/คนชรา
- โสด/สมรส
- ไม่จำกัดอายุ
ด้านจินตภาพ
- เป็นบุคคลที่ชอบดูรับชมข่าวสาร สาระบันเทิง และรายการทางสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่ออื่นๆ
5. แนวความคิด (Concept)- ก้าวไกลรับใช้สังคม6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)- ให้ความรู้ความบันเทิงพร้อมกับการก้าวไปข้างหน้าเพื่อรับใช้สังคมอย่างเต็มที่
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)- สนุก ตื่นเต้น สุขใจ